วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555


โครงสร้างองค์การ


บุคคลากรศูนย์การเรียนรู้เรือประมงบางแสน

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

 
นายดร. สุทธิพงษ์   คงธนะ

- มีหน้าที่จัดการบริหารงานภายในศูนย์การเรียนรู้เรือประมงบางแสน ซึ่งมีเลขานุการเป็นผู้ช่วยในการจัดทำเอกสาร ตลอดจนประสานงานภายในให้กับผู้อำนวยการ

สำนักงานเลขานุการ

นางสาว วรวรรณ   บำรุงชน

- มีหน้าที่ติดต่อประสานงานภายในและภายนอกศูนย์ฯ  รายงานผลการประชุมของศูนย์ฯ   และจัดทำบัญชีเบิก - จ่ายวัสดุสำนักงาน

แผนกโสตทัศนูปกรณ์


นาย วิทวัส   ปรีดาพรพันธุ์

- มีหน้าที่ออกแบบและจัดทำ Artwork   ให้บริการถ่ายภาพสไลด์  วีดีโอ   งานเทคนิคและบริการใช้สื่อ ให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ เครื่องถ่ายทอดสัญญาณภาพระบบวีดีโอ , โทรทัศน์ , Notebook Computer , เครื่องขยายเสียงพร้อมลำโพง , ไมโครโฟนตั้งโต๊ะ/ตั้งพื้น , เครื่องเล่นซีดี  วีดีโอ


แผนกเอกสารและการพิมพ์

นางสาว เรณุกา  อำไพภักดิ์

- มีหน้าที่จัดทำเอกสารแนะนำศูนย์ฯ  จัดรูปแบบเอกสารก่อนการผลิต  พิมพ์สำเนาระบบดิจิตอล   จัดส่งงานที่ผลิตเสร็จแล้วตามแผนก


แผนกจัดการและพัฒนาทรัพยากร

นางสาว  อำพร  กองรอด

- มีหน้าที่เข้าเล่ม และรวมเล่มเอกสาร   บำรุงและรักษาทรัพยากร  ปรับปรุงและผลิตสื่อภายในศูนย์ฯ   และจัดหาสื่อใหม่ๆจากภายนอกศูนย์


แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ

นางสาว  อารดา   อักษรพันธ์


- มีหน้าที่ควบคุมการใช้สื่อต่างๆภายในศูนย์  ดูแลระบบเครือข่ายภายในศูนย์ฯ  จัดการระบบฐานข้อมูล   และแก้ปัญหาที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ โปรแกรมและเครือข่าย


แผนกประชาสัมพันธ์

นางสาว  สุนิสา   ทองศรี


- มีหน้าที่แนะนำศูนย์ฯ   ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในศูนย์ฯ   และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ


แผนกบริการสารสนเทศ

นางสาว   รัตนา   บาลวิมล


- มีหน้าที่เก็บค่าบำรุงรักษา  และจัดทำแผนผังศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้


เกี่ยวกับเรา

ประวัติศูนย์เรือประมงบางแสน



                  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมง บางแสน เกิดขึ้นจากนโยบายของดร.สุทธิพงษ์ คงธนะ (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕) ที่ต้องการรวบรวมเรือประมงต่างๆที่มีสภาพชำรุด ผุพัง และมีอยู่อย่างกระจัดกระจาย ซึ่งตั้งอยู่ที่ 328  ม.1 ถ.เลียบหาดวอนนภา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20130 และได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ตั้งอยู่บนพื้นที่ ๑๐๐ ไร่
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมง บางแสน เป็นสถานที่ที่ให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการทำประมง วิถีชีวิตของชาวประมง อุปกรณ์และการซ่อมแซมเรือต่างๆ พร้อมทั้งมีการจัดแหล่งให้ความรู้แก่ชาวประมงในบริเวณบางแสนและพื้นที่ใกล้เคียงเกี่ยวกับการซ่อมแซมเรือแทนการปล่อยเรือทิ้งบริเวณชายฝั่งหรือบริเวณกลางทะเล เพราะเนื่องจากเรือบางประเภทยังสามารถซ่อมแซมได้แต่มีราคาแพงจนเกินไป ทางศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมง บางแสนจึงได้ช่วยเหลือชาวบ้านให้สามารถนำเรือกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ยากจน ด้วยวิธีการนำเงินส่วนหนึ่งที่หักจากค่าใช้จ่ายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ฯแล้วมาเป็นส่วนเหลือชาวประมง การรับบริจาคและจัดตั้งธนาคารเพื่อชาวประมงควบคู่ไปกับการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมง บางแสน




Scan  QR  Code


   สามารถ Scan QR  Code เพื่อเข้าสู่ Blogger ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมงบางแสน ได้ค่ะ









หลักการและเหตุผล


เนื่องจากทั่วโลกได้ตระหนักและมีความเพียรพยายามในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมของโลก เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลที่ยั่งยืน อันจะมีผลสืบเนื่องไปถึงความมั่นคงทางทรัพยากรซึ่งประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นไปตามสังคมโลกที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแพร่หลาย ดังนั้นจึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในฝันขึ้น
ปัจจุบันเรือประมงมีอยู่กระจัดกระจายทั่วทุกพื้นที่ในท้องทะเลไทยซึ่งคนไทยยังคงดำรงชีวิตแบบชาวบ้านด้วยการทำประมงเพื่อสร้างอาชีพและหารายได้ให้ครอบครัว
เนื่องจากการกระจัดกระจายของเรือประมงในชุมชนบางแสนและขาดการบริหารที่ดีของชาวประมงจึงทำให้คนทั่วไปไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญของเรือประมงและวิถีชีวิตของชุมชน
แนวทางในการแก้ปัญหา คือ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เรือประมงบางแสนขึ้นด้วยรับบริการบริหารจัดการแบบ ๗ M และมีการประกันคุณภาพตามมาตรฐาน ISO ๑๔๐๐๑
นิสิตสาขาเทคโนโลยีการศึกษาจึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาเรือประมงบางแสน ให้เข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยได้ดำเนิน " โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เรือประมง" ในบริเวณชุมชนบางแสน เพื่อให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลายอันเป็นแหล่งการเรียนรู้ของเยาวชน และประชาชน เพื่อให้สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และยังช่วยอนุรักษ์เรือประมงที่กำลังจะสูญหายไป


วัตถุประสงค์


         1. เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ให้เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
              2. เพื่อสืบสานวัฒนธรรมและธำรงภูมิปัญญาท้องถิ่น
              3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเเหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน

วิดีโอแนะนำ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมงบางแสน

วิดีโอแนะนำ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมงบางแสน




บทสรุปการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมงบางแสน


การให้บริการของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมงบางแสน

                      รูปแบบของการให้บริการทรัพยากรการเรียนรู้ คือ "แบบตามอัธยาศัย" (Informal  Education) จะเป็นสถานที่ให้บริการความรู้ที่รวบรวมสื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ที่หลากหลาย ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยหุ่นจำลอง

จากการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมงบางแสน

                    ใช้หลักการในการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ คือ
                    
                    1. มีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ  มุ่งอนุรักษ์เรือเพื่อสืบสานวิถีชีวิตการทำประมงของชาวบางแสน และเป็นศูนย์ศึกษาแก่คนในชุมชน รวมไปถึงนักท่องเที่ยวซึ่งปัจจุบันเรือประมงได้เริ่มสูญหายไปตามกาลเวลา
                    2. ทรัพยากรในการบริหารที่มีจำกัด  ทำให้สามารถบริหารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องเลือกใช้ทรัพยากรอย่างมีประโยชน์และคุ้มค่า
                    3. การประสานงานระหว่างกัน  มีการทำงานโดยการประสานงานกันทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบและถูกต้อง
                    4. การแบ่งงานกันทำ  มีการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างลงตัวและเหมาะสม
                    5. การวางแผน  กำหนดสิ่งที่ต้องการของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
                    6. การจัดองค์กร  กำหนดโครงสร้างแผนผังขององค์กรอย่างเป็นทางการ โดยเรียงลำดับจากผู้อำนวยการศูนย์เรื่อยลงมาตามลำดับ ซึ่งการจัดโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมงบางแสนเป็นแบบ " Line  Organization " เป็นรูปแบบการจัดการโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้นๆ โดยที่ทุกฝ่ายจะทำงานประสานกันตลอด ตามแผนภูมิโครงสร้างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เรือประมงบางแสน



                    7. การบริหารงานบุคคล  มีการบริหารงานของบุคคลในศูนย์ทรัพยากรอย่างเป็นระบบ
                    8. การสั่งงาน  มีการสั่งงานที่ดี เหมาะสมกับทุกฝ่าย
                    9. การประสานงาน  ภายในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จะมีการประสานงานระหว่างฝ่าย เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีระบบ
                   10. การรายงานต่อฝ่ายบริหาร  จะมีการรายงานผลการดำเนินงานของทุกฝ่ายต่อผู้อำนวยการศูนย์ทุกครั้ง เพื่อจะนำมาประมวลผลถึงข้อผิดพลาดต่างๆที่จะนำไปสู่การแก้ไขต่อไป
                   11. การวางแผนการเงิน บัญชี และการควบคุม  มีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของศูนย์ และมีการวางแผนควบคุมอย่างถูกต้อง โปร่งใส 
                   12. มีหลักการในการจัดการทรัพยากรอย่างครบถ้วน  ทั้งการจัดการทรัพยากรบุคคล งบประมาณ ค่าใช้จ่ายต่างๆ วัสดุ สื่อการเรียนรู้ การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

นิสิตได้อะไรจากการทำโครงการนี้

                    1. ได้ทราบถึงความสามารถของการทำงานของแต่ละคนในกลุ่ม เพื่อที่จะสามารถวางคนให้ถูกงาน จึงจะได้งานที่มีประสิทธฺภาพ
                    2. ได้ทราบถึงหลักการของการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
                    3. ได้ศึกษาเรื่องราวกับอู่ต่อเรือ
                    4. ได้ประสบการณ์จริงจากการศึกษากับสิ่งแวดล้อมทางทะเล       
                    5. ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวประมง
                    6. ได้ประสบการณ์เรียนรู้โปรแกรมการนำเสนอวีดีทัศน์
                    7. ได้เผยแพร่แบ่งปันความรู้ ให้ผู้อื่นได้เข้ามาศึกษา

ข้อเสนอแนะ


                    1. การเดินทางไปเก็บข้อมูลเป็นไปด้วยความไม่สะดวก
                    2. ข้อมูลในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ฯ เป็นข้อมูลที่ค้นหาได้ยาก เพราะเนื่องจากไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลของอู่ต่อเรือลุงเสริมเป็นสาธารณะ ทำให้ยากต่อการสืบค้นข้อมูล จึงทำให้เกิดความล่าช้า และต้องสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอู่ต่อเรือ และเส้นทางในการเดินทาง